High School Exchange โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3–5 เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา โดยพักอาศัยกับครอบครัวอาสาสมัครชาวอเมริกัน
มีให้เลือกสมัคร 2 ประเภทตามประเภทวีซ่าประเทศสหรัฐอเมริกา
J-1visa: เป็นคำที่เราใช้เรียกประเภทวีซ่่า โดยชื่อเต็มๆ ของเขาคือ "Exchange Visitor Programs" หรือใช้เรียกรวมสำหรับคนที่มีจุดประสงค์ชัดเจนที่จะไปเยือนสหรัฐฯเพื่อทำการแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นภาษา วัฒนธรรม ความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์ต่างๆ นักเรียนแลกเปลี่ยนแบบ J-1 ถือว่าเป็นนักเรียนโครงการพิเศษ ที่เน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นหลัก
*จะสามารถเข้าเร่วมโครงการและอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เพียง 1 ปีเท่านั้น ไม่สามารถอยู่ต่อได้หากต้องการศึกษาในสหรัฐอเมริกาในปีต่อไป จะต้องกลับมาประเทศไทยเพื่อขอวีซ่าประเภท F-1 เพือเดินทางกลับไปศึกษาต่อ
F-1visa: คือประเภทของวีซ่าที่จะออกให้กับนักเรียนหรือนักศึกษาต่างชาติที่ต้องการศึกษาต่อในระบบการศึกษาของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตรภาษาอังกฤษที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งบังคับให้นักเรียนจะต้องเรียนเต็มเวลาเท่านั้น F-1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษานั้น บางทีเราก็จะเรียกโปรแกรมนี้ว่า Private School Programs หรือ Full Free Paying Programs
*สามารถอยู่เรียนต่อได้โดยไม่ต้องกลับมาขอเปลี่ยนวีซ่าในประเทศไทย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับวีซ่าแบบ J-1
1. ไม่สามารถเลือกรัฐ โรงเรียน และครอบครัวอุปถัมภ์
2. ต้องพักกับครอบครัวอุปถัมถ์เดียวตลอดโครงการ ไม่สามารถทำการเปลี่ยนเองได้ ยกเว้นผ่านความเห็นชอบจากองค์กร เท่านั้น
3. ไม่สามารถกลับประเทศไทยในช่วงวันหยุด และไม่อนุญาติให้ผุ้ปกครองเดินทางไปเยี่ยมระหว่างเข้าร่วมโครงการ (ยกเว้นกรณีจำเป็นเท่านั้นและต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์กรก่อน)
4. นักเรียนแลกเปลี่ยนแบบ J-1 ที่เน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นหลัก และมีการบังคับผลการเรียนให้ได้ เกรดแต่ละรายวิชาให้ไม่ต่ำกว่า C
5. โรงเรียนเปิดในเดือนสิงหาคม
6. หากต้องการเรียนต่อในปีการศึกษาต่อไป จะต้องกลับประเทศต้นทางเพื่อขอเปลี่ยนวีซ่าเป็น F-1 เพื่อเดินทางกลับไปเรียนในโรงเรียนเอกชน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับวีซ่าแบบ F-1
1. สามารถเลือกโรงเรียนได้ทั้งรัฐบาลและเอกชน เลือกรัฐ และเลือกครอบครัวที่ต้องการไปพักได้
2. เลือกเวลาเริ่มรียนได้ คือ สิงหาคม หรือ มกราคม
3. หากต้องการเรียนต่อในปีการศึกษาต่อไป สามารถทำได้โดยไม่ต้องกลับมาขอวีซ่าใหม่ที่ประเทศไทย
4. สามารถเดินทางท่องเที่ยว หรือกลับบ้านช่วงวันหยุดได้ หรือพบกับครอบครัวที่เดินทางมาเที่ยวที่สหรัฐอเมริกาได้
ระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ
นักเรียนแลกเปลี่ยนสามารถเลือกระยะเวลาโครงการได้ทั้งแบบ 1 ภาคเรียน ประมาณ 5 เดือน หรือ 1 ปี การศึกษาประมาณ 10 เดือน ขั้นอยู่กับแต่ละประเทศ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
♦ เพื่อเป็นตัวแทนเยาวชนไทยไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวต่างชาติ
♦ เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษให้ดียิ่งขึ้น
♦ เพื่อโอกาสในการเรียนรู้ภาษาที่สามทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศที่เลือกเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน เช่น ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาจีน
♦ เพื่อเปิดโลกทัศน์ของเยาวชนไทยให้กว้างไกล เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อฝึกความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และความสามารถในการเรียนรู้เพื่อจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นใสังคม
รายละเอียดโครงการและสิ่งที่นักเรียนจะได้รับเมื่อผ่านการสอบคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
♦ ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และเรียนร่วมกับนักเรียนต่างชาติ เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
♦ ประเทศสหรัฐอเมริกา นักเรียนจะได้รับการออกวีซ่าประเภท J-1 (ซึ่งเป็นวีซ่าสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยน) เพื่อใช้เดินทางเข้าประเทศ และสำหรับประเทศอื่นๆนักเรียนจะได้รับการออก Student Visa เพื่อใช้ดินทางเข้าประเทศนั้นๆ
♦ ได้พักกับครอบครัวอาสาสมัคร (ครอบครัวอุปถัมภ์) ซึ่งได้รับคัดเลือกและตรวจสอบความเหมาะสมในทุกๆด้านเพื่อการรับนักเรียนต่างชาติมาอยู่ในความดูแล
♦ การประกันสุขภาพและอุบัติเหตุตลอดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ
♦ ได้รับการปฐมนิเทศ หรือ Pre Departure ก่อนออกเดินทางพร้อมเอกสารและคู่มือต่างๆก่อนเดินทาง
♦ ช่วยเหลือในการยื่นวีซ่านักเรียน และจัดหาตั๋วเครื่องบินราคาประหยัด และจัดเจ้าหน้าที่ จัดส่งยุวทูตที่สนามบิน
♦ เจ้าหน้าที่คนไทยและอเมริกันให้การดูแลและพร้อมให้คำปรึกษาและประสานงานให้ความช่วยเหลือตลอด ระยะเวลาในที่เข้าร่วมในโครงการ
♦ ประสานงานประจำท้องถิ่น ที่คอยดูแลให้ความช่วยเหลือนักเรียน ตลอดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ
♦ โทรศัพท์สายด่วนเพื่อใช้ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง
♦ บริการรับ-ส่งสนามบิน ไปยังที่พักโดยครอบครัวอุปถัมภ์
♦ การรายงานชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนระหว่างเข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติ
♦ สัญชาติไทย อายุ 15-17 ปี
♦ กำลังจะศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-5
♦ มีความประพฤติดี
♦ มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคประจาตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ
♦ มีผลการเรียนเฉลี่ย GPAไม่ต่ากว่า 2.5 โดยเกรดวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 2.0
*จะต้องไม่มีเกรด 1 หรือ 1.5 ในวิชาหลัก
♦ มีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีสามารถใช้สื่อสารได้
♦ มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของไทย และพร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง
⊗ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศอเมริกา ไม่มีสัญชาติอเมริกัน และไม่เคยได้รับวีซ่า J-1 หรือ F-1 มาก่อน กรณีต้องการสมัครโรงเรียนรัฐบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องไม่เคยไปเรียนในโรงเรียนรัฐบาลของอเมริกาโดยใช้วีซ่านักเรียนมาก่อน
⊗ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส จำเป็นต้องมีพื้นฐานภาษาเยอรมัน หรือ ฝรั่งเศสมาก่อน
ค่าธรรมเนียม
ค่าใช้จ่ายที่รวมในค่าธรรมเนียม
♦ ค่าดาเนินการจัดหาโรงเรียนและครอบครัว
♦ ค่าธรรมเนียมวีซ่าและ SEVIS
♦ ค่าธรรมเนียมตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของครอบครัว
♦ เจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันประจาท้องถิ่นดูแลให้ความช่วยเหลือ และรายงานผลการเข้าร่วม โครงการฯ
♦ เจ้าหน้าที่บริษัท ติดต่อประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ ตลอดการเข้าร่วมโครงการฯ
♦ ค่าประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ
ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และไม่ได้รวมในค่าธรรมเนียมโครงการ
♦ ค่าตั๋วเครื่องบินไป – กลับระหว่างประเทศ (International) และภายในประเทศ (Domestic) และค่าเดินทางภายในประเทศ
♦ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
♦ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การเลือกโซน ค่าเรียนภาษา
การสมัคร
วิธีการส่งใบสมัครสอบ
1. Download ใบสมัคร ที่ www.athomestudytravel.com และกรอกใบสมัคร
วิธีการชำระเงินค่าสมัครสอบ
1. ชำระเงินสดด้วยตนเองที่สำนักงานบริษัท
2. โอนเงินเข้า: ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี:บริษัทแอทโฮมสตัดดี้แทรเวิล จำกัด เลขที่: 031-016720-0 สาขา:อาคารอับดุลราฮิม ประเภทบัญชี:ออมทรัพย์
วิธีการส่งเอกสารสมัครสอบ
1. ยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานบริษัท
2. ส่งทางไปรษณีย์มาที่
บริษัทแอทโฮมสตัดดี้แทรเวิล จำกัด
เลขที่ 2 อาคารเคซีซี ซอยสีลม 9 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
*เอกสารประกอบการสมัครมีดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาแสดงผลการเรียนย้อนหลัง 3 ปี รวมปีปัจจุบัน
ปัจจุบันระดับชั้นม.3 ใช้เกรดเฉลี่ย ม.1-2
ปัจจุบันระดับชั้นม.4 ใช้เกรดเฉลี่ย ม.1-3
ปัจจุบันระดับชั้นม.5 ใช้เกรดเฉลี่ย ม.2-4
เอกสารประกอบการสมัครตส่งล่วงหน้าก่อนวันสอบ 1 สัปดาห์
*ส่งใบสมัคร+หลักฐานต่างๆ พร้อมแนบสำเนาหลักฐานใบโอนเงินหากทำการชำระผ่านบัญชี หรือจะชำระค่าสมัครสอบในนัดสอบ ก่อนเริ่มการสอบก็ได้ค่ะ
ยืนยันวันสอบเจ้าหน้าที่จะติดต่อนักเรียนเพื่อยื่นยันนัด เวลา และสถานที่สอบก่อนล่วงหน้า 3 วันทำการ
AHS High School Exchange?
เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีความสนใจในวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ และมีความรู้ ความเข้าใจใน วัฒนธรรมไทยของตนเองเป็นอย่างดี นักเรียนสามารถเลือกสมัครเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนปีการศึกษา 2019 ได้ดังนี้
♦ประเทศสหรัฐอเมริกา ♦ประเทศจีน
♦ประเทศฝรั่งเศส ♦ประเทศบราซิล
♦ประเทศเยอรมนี
เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชนและพักกับครอบครัวอุปถัมภ์ที่ผ่านการตรวตสอบจากองค์กรประเทศนั้นๆ การเข้าร่วมโครงการจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งการอาศัยอยู่ในต่างประเทศนั้นมีความแตกต่างทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นนักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงและโอกาสที่ดีในการพัฒนาภาษาและทักษะการ สื่อสารในเวลาเดียวกัน อีกทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย
FAQs
Q: ทำไมถึงเรียกนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการว่า “นักเรียนทุน” เพราะผู้ปกครองยังต้องชำระค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการอยู่ดี
A: เหตุผลคือโครงการแลกเปลี่ยนระดับมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอเมริกาในการยกเว้นค่าเล่าเรียน (tuition fees) และค่าที่พักตลอดระยะเวลา 1 ปีการศึกษา เพราะหากนักเรียนไปเรียนในฐานะนักเรียนทุนส่วนตัวทั่วไป (ประเภทวีซ่าคือ F1) นักเรียนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่สูงมาก คือประมาณที่ 1.5-2.5 ล้านบาท/1 ปีการศึกษา ดังนั้นจึงถือได้ว่านักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนระดับมัธยมศึกษาเป็นนักเรียนทุน
ข้อกำหนดที่รัฐบาลอเมริการะบุเกี่ยวกับนักเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการคือ นักเรียนต้องมีองค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นองค์กรไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร (Non-Profit organization) เข้ามาให้ความดูแลเพราะตามกฎหมายนักเรียนยังคงเป็นเยาวชนซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ทางองค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยนมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดหาบุคลากรมาดูแลนักเรียนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐบาลอเมริกาไม่ได้รับรองค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ดังนั้นผู้ปกครองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายนี้เอง ตลอด จนค่าใช้จ่ายของตั๋วเครื่องบินในการเดินทาง ค่าธรรมเนียมวีซ่า และค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายเดือนของนักเรียน ตามที่องค์กรกำหนดเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศึกษาต่อด้วยตนเองกับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนแล้วจะเห็นได้ว่าการเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนผู้ปกครองเสียค่าใช้จ่ายต่อปีการศึกษา ในจำนวนที่ไม่มากแต่คุ้มค่า
Q: หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนแลกเปลี่ยนเข้าร่วมโครงการ คืออะไร
A: ต้องการนักเรียนและครอบครัวที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ผู้เข้าร่วมโครงการ/นักเรียน: มีความปรารถนาที่จะลองใช้ชิวิตในต่างประเทศด้วยตนเอง มีความมั่นใจในความรู้พื้นฐานด้านวิชาการ และสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้ นักเรียนทีมีทัศนะและวิธีคิดเกินอายุจริง มีจุดหมายและมีการวางแผนเพื่อสู่ความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆได้ดี
ผู้ปกครอง: พร้อมให้การสนับสนุนบุตรในทุกด้านตั้งแต่เริ่มจนจบโครงการ มีความอดทนและเชื่อมั่นในการส่งบุตรหลานเข้าร่วมโครงการว่าจะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างและมีค่ามีประโยชน์ต่ออนาคตต่อไป มีความสามารถชำระค่าใช้จ่ายต่างได้เช่น ค่าโครงการ ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน และพร้อมให้ความร่วมมือด้วยความเข้าใจหากเกิดปัญหาขึ้น
Q: ระยะเวลาโครงการ และกำหนดการเดินทางเมื่อไหร่
A: 1 ปีการศึกษา (ประมาณ 10 เดือน) ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มเดินทางในเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี
Q: ถ้าต้องการเรียนต่ออีก 1 ปี ได้หรือไม่
A: ไม่ได้ค่ะ เนื่องจากนักเรียนเดินทางไปศึกษาในฐานะนักเรียนทุนแลกเปลี่ยน เป็น VISA แบบ J1 ไปศึกษาได้เพียง 1 ปี เท่านั้น และต้องเดินทางกลับภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากที่โรงเรียนปิดภาคเรียน แต่นักเรียนสามารถดำเนินการกลับไปศึกษาต่อได้โดยใช้ VISA แบบ F ชำระเงินค่าเล่าเรียนปกติ สำหรับผู้ปกครองที่มีโครงการให้นักเรียนเรียนต่อหลังจากสิ้นสุดโครงการสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AHS เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ค่ะ
Q: โครงการแลกเปลี่ยนมีความปลอดภัยแค่ไหน และวิธีการป้องกันปัญหาที่จะเกิดได้อย่างไร
A: เนื่องจากโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงมั่นใจได้ว่านักเรียนแลกเปลี่ยนจะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกเหนือจากข้อกำหนดของกฎหมายแล้ว องค์กรก็มีนโยบายในการคัดเลือกตรวจสอบครอบครัวอุปถัมภ์ และมีเจ้าหน้าที่ประสานงานท้องถิ่น (coordinator) ทำการติดต่อกับนักเรียนและครอบครัวอุปถัมภ์อย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ ผู้ประสานงานท้องถิ่นจะพำนักอยู่ไม่ไกลจากที่พักของนักเรียนเพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา หากมีเหตุจำเป็น นอกจากนี้องค์กรยังจัดตั้งศูนย์รับแจ้งปัญหาตลอด 24 ชั่วโมงขึ้นด้วย
Q: ไปอยู่กับใคร เรียนที่ไหน เลือกได้หรือไม่
A: นักเรียนจะไปพักกับครอบครัวอาสาสมัคร และเรียนในโรงเรียนรัฐบาล นักเรียนไม่สามารถเลือกครอบครัว โรงเรียนหรือรัฐที่ต้องการได้ นักเรียนและผู้ปกครองต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเข้าร่วมโครงการฯจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการจัดหาสถานที่พัก เช่น ในเมืองนั้นต้องมี Coordinator ขององค์กรแลกเปลี่ยนอยู่ ต้องมีโรงเรียนที่สามารถและยินดีรับนักเรียนแลกเปลี่ยนเข้าไปเรียนได้ แล้วจึงหา Host Familyให้นักเรียนตามความเหมาะสม โรงเรียนส่วนใหญ่ จะเป็นโรงเรียนรัฐบาล
ในชุดเอกสาร Application Form นักเรียนกรอกประวัติส่วนตัวอย่างละเอียดแสดงถึงความ เป็นอยู่ของนักเรียนกับครอบครัว กิจกรรมที่ชอบ พร้อมนำเสนอภาพกิจกรรมกับครอบครัว และเพื่อน ๆ ในโรงเรียน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยังองค์กรแลกเปลี่ยน เพื่อส่งต่อให้ครอบครัวอาสาสมัครได้อ่านประวัติและตัดสินใจเลือกนักเรียนแลกเปลี่ยนด้วยตนเอง แต่ละครอบครัวจะมีเหตุผลเลือกนักเรียนแตกต่างกัน เช่น บางครอบครัวอาจต้องการคนเรียนเก่งมาก ๆ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีกับลูก หรือบางครอบครัว อาจต้องการคนมนุษย์สัมพันธ์ดี ชอบทำกิจกรรม เป็นต้น ดังนั้นการทำเอกสาร Application Form เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การเลือกภาพถ่ายเพื่อเขียนบรรยาย นักเรียนควรหารูปที่ทำกิจกรรมแตกต่างกัน หลากหลายมุมเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของตัวเอง
Q: มาตรฐานที่ใช้คัดเลือกโรงเรียนสำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยน
A: โรงเรียนจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐบาล หรือ โรงเรียนเอกชนก็ตาม เจ้าหน้าที่ประสานงานท้องถิ่นขององค์กรต่างประเทศ จะต้องมีการไปเยี่ยมโรงเรียนก่อนเพื่อนำมาพิจารณาว่าสถานที่ ระบบการเรียนการสอน และนโยบายของโรงเรียนเหมาะสมที่จะรับนักเรียนแลกเปลี่ยนเข้าเรียนหรือไม่
Q: ครอบครัวอุปถัมภ์ (ครอบครัวอาสาสมัคร) จะได้อะไรจากการรับนักเรียนแลกเปลี่ยน และมีเหตุผลอะไรที่รับนักเรียน แลกเปลี่ยนเข้าไปอยู่ในครอบครัว
A: ครอบครัวอุปถัมภ์ไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้นจากทางมูลนิธิ แต่ครอบครัวอุปถัมภ์จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆที่ก่อให้เกิดความสุข สนุกสนานในครอบครัวของเขาและเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างจากนักเรียนแลกเปลี่ยนต่างชาติต่างภาษากัน และเปิดโอกาสให้บุตรหลานชาวอเมริกันของเขาได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเปิดโลกทัศน์ทางด้านความคิด และการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างของนักเรียนต่างชาติที่อยู่ด้วย ครอบครัวอุปถัมภ์ต้องมี คุณสมบัติตามที่รัฐบาลกำหนด เช่น ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และต้องผ่านการสัมภาษณ์กับผู้ประสานงานท้องถิ่นขององค์กร ทำการแจ้งต่อสาธารณะชนในชุมชนท้องถิ่นของตนว่าจะมีการรับนักเรียนแลกเปลี่ยน และหากไม่มีผู้ใดในชุมชนคัดคาดก็จะได้รับคัดเลือกให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ และรัฐบาลอาจจะให้สิทธิ์ลดหย่อนในเรื่องภาษี แต่ก็เป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้น เยาวชนแลกเปลี่ยน จะต้องไม่คาดหวังให้ครอบครัวอุปถัมภ์เปลี่ยนวิถีชีวิตของเขาเพื่อเราแต่ฝ่ายเดียว
Q: ถ้าไปอยู่แล้วมีปัญหากับครอบครัว จะขอย้ายได้หรือไม่?
A: ขอย้ายได้เฉพาะที่มีเหตุผลสมควรเท่านั้น การพักกับครอบครัวอาสาสมัครนั้น นักเรียนต้องพยายามปรับตัวเข้าหา ครอบครัวในขณะเดียวกันครอบครัวอาสาสมัครก็จะปรับตัวเข้าหานักเรียนเช่นกัน ซึ่งนักเรียนจะต้องเชื่อฟังตามระเบียบของครอบครัว เช่น ควรกลับบ้านไม่เกินกี่โมง กรณีมีกิจกรรมจำเป็นต้องกลับช้ากว่ากำหนด ต้องขออนุญาตก่อน ล่วงหน้า นักเรียนควรเสนอตัวช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถทำได้คือดูแลความเป็นระเบียบของข้าวของเครื่องใช้ ส่วนตัวของเรา เหล่านี้คือสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นักเรียนควรต้องทำ แต่ถ้าปรับตัวแล้วมีความไม่เข้าใจกันเรื่องใด ๆ ก็ตาม นักเรียนควรแจ้งกับผู้ที่ดูแลในชุมชนของนักเรียน ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรต่างประเทศตลอด 24 ชั่วโมง และทันทีที่ทาง AHST ทราบว่าเกิดปัญหาระหว่างนักเรียนกับครอบครัวอาสาสมัคร เราจะทำการตรวจสอบทันทีโดยจะสอบถามไปยังนักเรียนคนนั้นๆ ประสานงานกับองค์กรต่างประเทศ และผู้ปกครองเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และให้การช่วยเหลือนักเรียนอย่างเร่งด่วน หากพบว่าครอบครัวปฏิบัติต่อนักเรียนไม่ดี หรือไม่ถูกต้อง ทาง AHST จะรีบประสาน งานกับทางองค์กรเพื่อจัดหาครอบครัวใหม่ให้กับนักเรียนทันที
**ครอบครัวอาสาสมัครรับนักเรียนเข้าพัก โดยไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ แต่ยินดีดูแลนักเรียนด้วยความเต็มใจ เพื่อที่ครอบครัวจะได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่แตกต่างให้กับสมาชิกในครอบครัว ดังนั้นนักเรียนควรให้เกียรติในความเอื้อเฟื้อของครอบครัวอาสาสมัคร แต่สำหรับบางประเทศครอบครัวอาสาสมัครอาจจะได้รับค่าตอบแทนบ้างเล็กน้อยเป็นน้ำใจ จากองค์กรในต่างประเทศแต่ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างแต่อย่างใด**
Q: การเดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
A: นักเรียนเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ด้วยตนเองเมื่อถึงปลายทางจะมีครอบครัวอาสาสมัคร หรือผู้ประสานงานเป็นผู้มารอรับนักเรียนที่สนามบิน ซึ่งจะมีการนัดหมายกันล่วงหน้าก่อนเดินทาง โดย AHST จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและอธิบายขั้นตอนการเดินทางให้ทราบอย่างละเอียด
Q: ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ และครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
A: ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการของบริษัท AHST นั้น ในแต่ละปีองค์กรในต่างประเทศจะเป็นผู้กำหนด และค่าโครงการจะไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน เนื่องจากตั๋วเครื่องบินไม่สามารถระบุค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้จนกว่าจะทราบว่านักเรียนจะต้องเดินทางไปยังรัฐใด ซึ่งค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันตามเมืองหรือรัฐที่นักเรียนไปอยู่
ค่าใช้จ่ายที่รวมอยู่ในค่าโครงการมีดังนี้
• ค่าใช้จ่ายการศึกษาตามหลักสูตรทั้งหมด 1 ปีการศึกษา ใน Public High School
• ค่าที่พัก อาหาร (แล้วแต่ครอบครัวอาสาสมัครจัดหาให้)
• ค่าประกันสุขภาพ ตลอด 1 ปีการศึกษา ค่าจัดอบรมภาษาอังกฤษก่อนเดินทาง
• การเตรียมความพร้อมอื่นๆของนักเรียนก่อนเดินทาง
• ค่าใช้จ่ายในการประสานงานระหว่าง AHST และองค์กรต่างประเทศ และระหว่าง AHS กับ
นักเรียนตลอดการศึกษา ผู้ปกครองจะได้รับรายงานในเรื่องการใช้ชีวิตกับครอบครัว การใช้ชีวิตในโรงเรียน และผล การเรียนของนักเรียน ทุกๆ 3 เดือน
• ค่าดำเนินการยื่นขอ VISA
• ค่า SEVIS Fee
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมวีซ่า และ SEVIS นั้นสถานทูตอเมริกาเป็นผู้กำหนด หากมีการปรับขึ้นราคาค่าธรรมเนียม นักเรียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระส่วนต่าง
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่นักเรียนต้องชำระเพิ่มเติม มีดังนี้
• ค่าตั๋วเครื่องบิน ไป-กลับ
• POCKET MONEY เดือนละ U$250
Q: ค่าโครงการที่นักเรียนแลกเปลี่ยนชำระมานั้น ถูกนำไปใช้จ่ายอย่างไรบ้าง?
A: ค่าโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน Student Exchange USA จะถูกนำไปใช้ดำเนินการตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
• การสื่อสาร ประสานงานกับองค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศอเมริกา
• การดำเนินการคัดเลือกครอบครัวอาสาสมัคร Criminal Record Check
• การประสานงานกับครอบครัวอาสาสมัครซึ่งเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ในระหว่างที่นักเรียนพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา
• การจัดการเพื่อสนับสนุนนักเรียน เช่น การจัดปฐมนิเทศ การจัดหาที่พัก
• ค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ประสารงานท้องถิ่นที่จะคอยให้คำปรึกษา ดูแลและให้การช่วยนักเรียนตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้แน่ใจว่า เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และคำปรึกษาในเวลาที่นักเรียนมีปัญหา
• ค่าประกันสุขภาพ
• การจัดปฐมนิเทศนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศไทยเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนก่อนเดินทาง
Q: ลักษณะของโรงเรียนและเนื้อหาวิชาเรียน
A: นักเรียนเข้าศึกษาระดับมัธยมปลายในโรงเรียนของรัฐบาล ส่วนเนื้อหาวิชาต่างๆมีวิชาเรียนเหมือนกับในประเทศไทยโดยเฉพาะวิชาหลัก อาจารย์แนะแนว/อาจารย์ใหญ่ จะเป็นผู้ดูแลเพื่อลงทะเบียนวิชาที่ถูกต้อง นักเรียนจะต้องรักษาคะแนนเฉลี่ย C เพราะนักเรียนทุนมาเพื่อเรียน ถ้าต้องการความช่วยเหลือต้องแจ้งผู้ดูแล ถ้าไม่เอาใจใส่การเรียนจะมีการภาคทัณฑ์
Q: วิชาที่นักเรียนแลกเปลี่ยนต้องเรียนมีอะไรบ้าง
A: กฎของโครงการแลกเปลี่ยนระบุไว้ว่า นักเรียนแลกเปลี่ยน J-1 visa จะต้องเลือกเรียนวิชาหลัก 3 วิชาคือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และประวัติศาสตร์อเมริกา และหากเป็นนักเรียนที่เลือกเรียนแผนวิทย์-คณิตจากประเทศไทยทางโรงเรียนจะแนะนำให้นักเรียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มด้วย
Q: นักเรียนแลกเปลี่ยนจะได้เข้าเรียนในระดับชั้นใดเมื่อไปถึงโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา และจำเป็นต้องเรียนซ้ำชั้นหรือไม่เมื่อกลับมาประเทศไทย?
A: โดยปกตินักเรียนจะเรียนในระดับชั้นที่ต่อเนื่องจากที่เรียนในประเทศไทย นักเรียนจะไม่สามารถข้ามชั้นเรียนไปเรียนในเกรดที่สูงกว่าได้โครงการแลกเปลี่ยนเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการของไทย นักเรียนส่วนใหญ่จึงสามารถเลื่อนชั้นเพื่อเข้าเรียนในระดับต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลับมาซ้ำชั้นอีก โดยเฉพาะนักเรียนอยู่ในแผน ศิลป์-คำนวณ หรือศิลป์-ภาษา สำหรับนักเรียนแผนวิทย์-คณิตที่ต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และเลือกคณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางวิทยาศาสตร์ ก็ไม่ต้องซ้ำชั้น ยกเว้นแต่นักเรียนที่ต้องการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เช่น คณะแพทย์ศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ ทางโรงเรียนอาจจะแนะนำให้นักเรียนซ้ำชั้น เนื่องจากขณะที่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศสหรัฐอเมริกานักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเลือกลงวิชาวิทยาศาสตร์ได้ครบทั้ง 3 ตัว (ชีววิทยา ฟิสิกส์ และเคมี) ในระยะเวลา 1 ปีการศึกษา
Q: นักเรียนต้องเตรียมเงินเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวรายเดือน ไปอีกหรือไม่?
A: ควรมีเตรียมไปบ้าง จำนวนเท่าไร ขึ้นอยู่กับ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ไม่ควรให้นักเรียนพกเงินติดตัวไปในวันเดินทางเกินU$500 ผู้ปกครองควรส่งเงินให้นักเรียนมีติดตัวไว้ในแต่ละเดือนประมาณ U$200– 250 โดยอาจทำบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตติดตัวไป และผู้ปกครองชำระเงินผ่านบัตรที่ประเทศไทย ก็จะเป็นการปลอดภัยและสะดวกแก่นักเรียน
Q: ทำไมคัดเลือกนักเรียนก่อนการเดินทางถึงเกือบ 1 ปี?
A: เนื่องจากนักเรียนจะต้องได้รับการเตรียมตัวในเรื่องของภาษา และเอกสารที่ต้องจัดเตรียมให้กับองค์กรต่างประเทศจำนวนมาก เพื่อจัดหาและคัดเลือกครอบครัวให้เหมาะสมกับนักเรียนให้มากที่สุด ซึ่งจะง่ายในการปรับตัวของทั้ง 2 ฝ่าย และจะต้องดำเนินการหาโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้านครอบครัวอาสาสมัครให้มากที่สุด ตลอดจนการเตรียมเอกสารในการยื่นขอ VISA ของนักเรียน ทุกขั้นตอนในการเตรียมตัวดังกล่าว จะเกี่ยวกับเอกสารจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวล่วงหน้าค่อนข้างมากก่อนเดินทาง ทั้งนี้เอกสารในส่วนของนักเรียนที่ต้องจัดเตรียมในประเทศไทยจะได้แจ้งให้นักเรียนจัดเตรียมเป็น ระยะ ๆ ตามขั้นตอน เอกสารที่นักเรียนต้องจัดเตรียมโดยคร่าว ๆ จะมีดังนี้
1. ทรานสคริปต์ 3 ปีย้อนหลัง ตัวจริง โดยออกเป็นภาษาอังกฤษ และประทับตราโรงเรียน
2. รูปถ่ายสีขนาด 2.5 x 2.5 นิ้ว จำนวน 10 รูป
3. ประวัติการได้รับวัคซีนทั้งหมด
4. บัญชีธนาคาร (Statement) ของผู้ปกครองหรือผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เคลื่อนไหวไม่น้อยกว่า 6 เดือน และแสดงยอดเงินไม่น้อยกว่า 300,000 บาท เพื่อใช้ในการประกอบการยื่นขอวีซ่า
5. เอกสาร Application ของนักเรียนโดยละเอียด พร้อมทั้งจดหมายที่เขียนถึง Host Family ect. ดังนั้น ด้วยเหตุผลข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการคัดเลือกนักเรียนก่อนกำหนดการเดินทางล่วงหน้าเป็นเวลานาน
Q: โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน มีองค์กรใดบ้างที่เกี่ยวข้อง และมีใครเป็นผู้ควบคุมดูแล
A: ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนระดับมัธยมศึกษา มีดังนี้
1. Department of State แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งดำเนินการภายใต้อำนาจของกฎหมายแลกเปลี่ยนการศึกษาและวัฒนธรรมร่วมกัน
2. CSIET (Council on Standards on International Educational Travel) เป็นองค์กรเอกชนที่เข้ามาดูแล และควบคุมมาตรฐานและคุณภาพขององค์กรต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน Student Exchange USA โดยจะมีการตรวจสอบทุกๆปี
3. องค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากกฎหมายโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนของ State Department ระบุไว้ว่า นักเรียนแลกเปลี่ยนที่จะได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน จะต้องเข้าร่วมโครงการโดยผ่านองค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยนภายในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
4. องค์กรที่ทำงานด้านโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศไทย เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงาน
5. และเชื่อมระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง กับองค์กรนักเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ
Q: กรณีเจ็บป่วยต้องทำอย่างไรบ้าง
A: นักเรียนทุกคนจะต้องทำบัตรประกันสุขภาพและได้รับบัตรประกันสุขภาพก่อนการเดินทาง ซึ่งหากเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุขณะเข้าร่วมโครงการ นักเรียนแลกเปลี่ยนฯ ต้องแจ้งให้ผู้ดูแลประจำพื้นที่ (Local Coordinator) ทราบ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และครอบครัวอุปถัมภ์จะเป็นผู้ดูแลนักเรียน ในฐานะสมาชิกในครอบครัว
Q: ผู้ปกครอง บิดา มารดา หรือญาติสามารถไปเยี่ยมนักเรียนได้หรือไม่
A: ทางมูลนิธิผู้สนับสนุนทางการศึกษา ไม่อนุญาตให้ไปเยี่ยมนักเรียนขณะอยู่ในโครงการ เนื่องจากจะส่งผลกระทบกับการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ทำให้เกิดอาการคิดถึงบ้าน และโดยทั่วไปครอบครัวอุปถัมภ์จะวางแผนกิจกรรมหรือการเดินทางไว้ล่วงหน้า การไปเยี่ยมทำให้เกิดความยุ่งยากและเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
• การบริการในการขอวีซ่า ให้นักเรียนแลกเปลี่ยน
• เจ้าหน้าที่ประสานงานตลอดโครงการ
ศูนย์สอบรอบเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม 2566 |
||||
สถาที่จัดสอบข้อเขียน |
สำรองที่นั่งสอบ | วันสอบ | ||
ศูนย์สอบ | กรุงเทพฯ | อาคารเคซีซี | High School Exchange Team |
ทางบริษัทจะแจ้งกำหนดการสอบให้นักเรียนทราบ
|
สีลมซอย 9 |